กติกาและรูปแบบการแข่งขัน ของ ชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย

ศูนย์ สอวน. ที่เข้าร่วมการแข่งขันส่งได้หนึ่งทีมประกอบด้วยนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกของแต่ละศูนย์ จำนวน 6 คน เฉพาะศูนย์ สอวน. โรงเรียนเทพศิรินทร์ ส่งนักเรียนเข้าแข่งขันได้ 3 ทีม (18 คน) แต่ละศูนย์มีอาจารย์ของศูนย์ 2 คน ที่จะต้องรับผิดชอบด้านวิชาการ (ยกเว้นศูนย์ สอวน. โรงเรียนเทพศิรินทร์ มีได้ไม่เกิน 6 คน) อาจารย์ทั้งสองมีสถานภาพเป็นสมาชิกของคณะกรรมการชีววิทยาโอลิมปิก สอวน. สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และจะถือว่าเป็นผู้ประสานงานของศูนย์นั้นในเรื่องการแข่งขันเกี่ยวกับกิจกรรมการแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ จนกระทั่งมีการแข่งขันครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังให้มีผู้สังเกตการณ์อีกหนึ่งคนจากแต่ละศูนย์ ทำหน้าที่ดูแลการนำนักเรียนเดินทางจากศูนย์ไปยังศูนย์เจ้าภาพและการนำนักเรียนเดินทางกลับยังภูมิลำเนา

กำหนดให้มีการสอบ 2 ส่วน โดยส่วนที่ 1 เป็นภาคทฤษฏี และส่วนที่ 2 เป็นภาคปฏิบัติ ซึ่งใช้เวลาในการทำข้อสอบภาคละ 3 ชั่วโมงภาคทฤษฎี มีเนื้อหาครอบคลุม 6 หัวข้อ (ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง) ข้อสอบภาคทฤษฎี มี 2 ชุด

  • ชุดที่ 1 ข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวเลือก 100 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวม 100 คะแนน
  • ชุดที่ 2 ข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบสั้นๆ หรือมีหลายตัวเลือกให้เขียนตอบ รวม 100 คะแน

แจกแจงตามสัดส่วนหัวข้อต่าง ๆ ดังตารางข้างล่างนี้[1]

หัวข้อข้อสอบปรนัย (คะแนน)ข้อสอบอัตนัย (คะแนน)
Cell Structure and Function2020
Plant Anatomy and Physiology1515
Animal Anatomy and Physiology1515
Ethology and Ecology1515
Genetics and Evolution2020
Biosystematics1515
รวม100100

ภาคปฏิบัติ ครอบคลุมเนื้อหาใน 4 หัวข้อ (ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง) แจกแจงตามสัดส่วนหัวข้อต่าง ๆ ดังตารางข้างล่างนี้

หัวข้อสัดส่วนข้อสอบ (คะแนน)
Cell25
Plant Anatomy and Physiology25
Animal Anatomy and Physiology25
Biosystematics and Ecology25

สัดส่วนการคิดคะแนนรวมร้อยละ 100 เป็นคะแนนสอบภาคทฤษฎีร้อยละ 60 และ คะแนนสอบภาคปฏิบัติอีกร้อยละ 40 ผู้แข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรรางวัลเหรียญทอง (Gold) เหรียญเงิน (Silver) เหรียญทองแดง ตามลำดับคะแนนที่ทำได้ตามข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการกลางวิชาชีววิทยาของสอวน. และผู้แทนศูนย์ สอวน. ทุกศูนย์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน